บทนำ
ภายใต้การบริหารธุรกิจที่มีการแข่งขันและมีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว บริษัทฯ จำเป็นต้องมีการปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรให้มีความเหมาะสมโปร่งใส มีหลักธรรมาภิบาลที่ดี เป็นที่เชื่อมั่น และยอมรับแก่ผู้ถือหุ้น ลูกค้า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และเพื่อให้เป็นมาตรฐานในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม บริษัทฯ จึงเห็นสมควรที่จะกำหนด “จรรยาบรรณทางธุรกิจ” (Code of conduct) ขึ้นมาเป็นลายลักษณ์อักษรโดยได้รวบรวมกฎ ระเบียบ หลักเกณฑ์ และแนวปฏิบัติต่างๆ มาปรับเข้ากับหลักปฏิบัติของบริษัทฯ เพื่อให้ผู้บริหาร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้อง สามารถนำไปปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
บริษัทฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะได้รับความร่วมมือจาก กรรมการบริษัทฯ ผู้บริหาร และพนักงาน ในการนำแนวทางจรรยาบรรณทางธุรกิจฉบับนี้ไปปฏิบัติด้วยความมุ่งมั่นอย่างจริงจัง และช่วยกันรักษาให้จรรยาบรรณทางธุรกิจฉบับนี้ ดำรงอยู่คู่บริษัทฯ ตลอดไป
หมวดที่ 1 หลักการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม
ด้วยเจตนารมณ์ของบริษัทฯ ในอันที่จะดำเนินธุรกิจให้เจริญก้าวหน้า โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของ จริยธรรมและคุณธรรม พร้อมกับมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย โดยการประมวลนโยบายการดูแลรับผิดชอบ และปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตลอดจนหลักการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อให้การดำเนินงานของบริษัทฯ บรรลุเป้าหมายธุรกิจ ควบคู่ไปกับการสะท้อนคุณค่า และวัฒนธรรมขององค์กร พร้อมทั้งมุ่งหวังให้ผู้บริหาร พนักงาน ผู้ร่วมดำเนินธุรกิจกับบริษัทฯ และ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับทราบ และยึดมั่นในหลักการเดียวกัน บริษัทฯ จึงได้กำหนดหลักการดำเนินธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณไว้ดังนี้
แนวทางการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ
ในกรณีที่มีข้อสงสัยหรือประสบปัญหาในการตัดสินใจหรือปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณ ที่ไม่ได้กำหนดไว้ ขอให้ใช้ดุลยพินิจเบื้องต้น โดยการตั้งคำถามเกี่ยวกับการกระทำนั้นกับตนเองก่อนยุติการดำเนินการดังนี้
การรับข้อเรียกร้องเกี่ยวกับจรรยาบรรณของธุรกิจ
ด้วยคาดหมายให้พนักงานของบริษัทฯ ทุกคนร่วมกันสอดส่องดูแล การปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และจรรยาบรรณธุรกิจ โดยสนับสนุนให้มีรายงานโดยสุจริตถึงการปฏิบัติที่ ขัด หรือสงสัยว่าจะขัดต่อหลักการต่างๆ ต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น โดยผู้ที่ได้รับการปฏิบัติที่ ขัด หรือสงสัยว่าจะขัดต่อหลักการต่างๆ ต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้น โดยผู้ที่ได้รับข้อมูลจะถือเป็นข้อมูลความลับ ซึ่งทุกข้อร้องเรียนที่มีหลักฐานชัดเจนจะได้รับการปฏิบัติอย่างเสมอภาค โปร่งใส และเอาใจใส่รวมทั้งให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย โดยมีการกำหนดระยะเวลา สอบสวนอย่างเหมาะสม และชื่อผู้ร้องเรียนจะถูกปิดเป็นความลับ ผู้ร้องเรียนจะได้รับความคุ้มครองไม่ให้ถูกกลั่นแกล้ง ทั้งในระหว่างการสอบสวนและภายหลังการสอบสวน
หมวดที่ 2 หลักความรับผิดชอบต่อสังคมที่สำคัญ 7 ประการ
บริษัทฯ เห็นถึงความสำคัญในการบริหารงานที่ดีมีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักหลักธรรมาภิบาล และหลักความรับผิดชอบต่อสังคมที่สำคัญ 7 ประการประกอบด้วย
หมวดที่ 3 มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility)
เพื่อให้จรรยาบรรณฉบับนี้มีความชัดเจน ครอบคลุมทุกกิจกรรมขององค์กร เหมาะสมกับ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคม และสิ่งแวดล้อม ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้องค์กรมีการพัฒนาสู่ความยั่งยืน (Sustainable Development) บนพื้นฐานของการเติบโตอย่างสมดุลและยั่งยืนภายใต้การกำกับดูแลอย่างจริงจังของคณะผู้บริหาร และเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายมีความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจขององค์กรบริษัทฯ จึงได้นำมาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility :CSR) ทั้ง 7 หัวข้อหลัก มาเป็นแนวปฏิบัติสำหรัีบองค์กรดังนี้
หมวดที่ 4 การบริหารความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ
การบริหารความเสี่ยง เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารจัดการองค์กร โดยต้องมีการประเมินความเสี่ยงเป็นกระบวนการ เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันว่าองค์กรจะมีความเสี่ยงจากอะไร เช่น จากความผันผวนทางเศรษฐกิจ สังคม การดำเนินงาน และสิ่งแวดล้อม จากนั้นนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ เมื่อวิเคราะห์ได้แล้ว ต้องหามาตรการมาจัดการกับความเสี่ยงเหล่านั้นให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยเลือกใช้กลยุทธ์ที่เหมาะสม เช่นกลยุทธ์การหลีกเลี่ยง (Avoid) การลด (Reduce) การโอน (Transfer) และการยอมรับ (Accept)
บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญถึงการบริหารความเสี่ยงภายใต้ความไม่แน่นอนต่างๆ โดย ถือว่าการบริหารความเสี่ยงเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของทุกกระบวนการ ในการดำเนินธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงกันทุกระดับ จึงได้กำหนดเป็นการจัดการความเสี่ยงทั่วองค์กรที่พนักงานทุกคน ต้องปฏิบัติตาม
การประเมินความเสี่ยงในการประกอบธุรกิจ ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการกำหนดกลยุทธ์และแผนธุรกิจในแต่ละปี โดยมีการติดตาม และควบคุมความเสี่ยงอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เป็นไปตามทิศทาง และนโยบายที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทฯ ซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลักๆดังนี้